script data-ad-client="ca-pub-4285623555606205" async src="https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js"> เตรียมก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ แห่งใหม่ บนพื้นที่ 16.5 ไร่ - onlinenewscm

เตรียมก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ แห่งใหม่ บนพื้นที่ 16.5 ไร่

เมื่อ 25 กันยายน 63 นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย พร้อม นายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำพิธีเปิดหน้าดินก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายสมคิด เลิศเกียรติดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองป่าครั่ง  ร่วมเป็นสักขีพยาน  ที่ บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (แห่งใหม่)  ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า  สหรัฐฯเริ่มการก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ได้ก่อตั้งสถานกงสุลขึ้นครั้งแรกที่เชียงใหม่  เมื่อ 70 ปีที่แล้ว โดยออกแบบอาคารหลังใหม่ ให้คงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 70 ปี สหรัฐฯโดยสถานกงสุลที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือแห่งนี้  โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีของไทยมายาวนาน เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ต่อสู้กับการค้ายาเสพติด และการสร้างงานจำนวนมาก

สถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่มี กำหนดก่อสร้างเสร็จสิ้น ในปี 2566 และจำกลายเป็นสัญลักษณ์ ที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อภาคเหนือของไทย ต่อไปในอนาคต โดยโครงการก่อสร้าง มีมูลค่าการลงทุน 284 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,800 ล้านบาท และทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่น กว่า 400 คน

สำหรับสถานกุงสุลใหญ่แห่งใหม่ สร้างขึ้นบนเนื้อที่ 16.5 ไร่ ริมถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง การออกแบบสถานกงสุลใหญ่ ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ และรูปแบบการสร้างอาคารในภาคเหนือที่ มีความหลากหลาย โดยผสมผสานภูมิทัศน์ที่เขียวชอุ่มเข้ากับศาลา ซึ่งมีลักษณะเป็นระเบียงเปิดโล่ง เพื่อใช้จัดงานที่เป็นทางการ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ ยังสะท้อนถึงลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาโบราณ โดยการใช้พื้นที่สาธารณะกั้นส่วนต่างๆ ของอาคารออกจากกัน   สะท้อนถึงความหลากหลาย และคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ของสหรัฐฯ และ ประเทศไทย.