script data-ad-client="ca-pub-4285623555606205" async src="https://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js"> วิศวะ มช. เดินหน้าพัฒนา นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สู้โควิด-19 ให้สถาบันการแพทย์ ใช้งานจริงแล้ว 70 % - onlinenewscm

วิศวะ มช. เดินหน้าพัฒนา นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สู้โควิด-19 ให้สถาบันการแพทย์ ใช้งานจริงแล้ว 70 %

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ช่วยเหลือด้านการแพทย์ ตลอดจนผู้ป่วย ในช่วงไวรัส Covid-19 แพร่ระบาด ภายใต้การทำงานร่วมกันของสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมัยที่ 42 นอกเหนือจากนี้ยังมีคณาจารย์ และนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยทั่วประเทศ ร่วมทำภารกิจ สร้างนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ช่วยเหลือด้านดังกล่าว การดำเนินกิจกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยมูลนิธิ/สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ความคืบหน้า ล่าสุด ณ ​วันที่ 23 เมษายน 2563 ภารกิจสำเร็จนำไปใช้งานจริง และประจำการแล้ว 70% จาก 5 แผนดำเนินงานหลัก คือ สร้างหุ่นยนต์หุ่นยนต์ขนส่งในตึกผู้ป่วย “CMU Aiyara Robot” ส่งอาหาร ยา รวมถึงเก็บเสื้อผ้าใช้แล้วของผู้ป่วย การตั้งกลุ่มวิศวกรอาสาพหุภาคีเพื่อให้คำปรึกษา ควบคุมงาน การประดิษฐ์อุปกรณ์ลดความเสี่ยง swab ปาก/ลำคอผู้ป่วย พร้อมการ์ดป้องกันเชื้อระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และต้นแบบอุปกรณ์กักกันเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ท้ายสุด คือ การประดิษฐ์ตู้อบด้วยไวโอเลต หรือ ยูวี

ภารกิจแรกที่นำไปใช้จริง คือ “หุ่นยนต์ขนส่งในอาคารผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ: CMU Aiyara Robot” คณะทำงาน นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระพงษ์ ว่องรัตนะไพศาล สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พัฒนานวัตกรรมลดการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำแนกการดูแลรักษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องสังเกตอาการ หุ่นยนต์ประเภทแรกใช้กับกลุ่มเสี่ยง หน้าที่หลัก คือ ส่งอาหาร ยา แก่ผู้ป่วย ตรวจวัดอุณหภูมิ และอาการ นอกจากนี้ยังเก็บภาชนะเดิม รวมถึงเสื้อผ้าใช้แล้ว หรือขยะออกจากห้องผู้ป่วย หุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 3 – 4  กม./ ชม. ใช้รีโมทควบคุม พร้อมจอมอนิเตอร์ เพื่อสื่อสารโดยเห็นหน้ากันได้ ระหว่างผู้ป่วยกับทีมแพทย์ และพยาบาลผ่านอินเตอร์คอม ซึ่งทีมพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทดสอบCMU Aiyara Robot เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 จากนั้นทีมงานจึงปรับหุ่นยนต์  ตามข้อเสนอแนะ พร้อมเข้าประจำการ ณ หอผู้ป่วยโรคปอดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 เมษายน 63 ที่ผ่านมา.